Pages

Friday, October 2, 2020

ทิศทางการส่งออกของ SMEs ไทย สินค้าไหนยังได้ไปต่อ - ประชาชาติธุรกิจ

trigerana.blogspot.com
ส่งอกสินค้า-ท่าเรือ
คอลัมน์ SMART SMEs
โดย วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ธนาคารกสิกรไทย

ช่วงครึ่งแรกของปี 2563 สินค้าส่งออกที่ขยายตัวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้อานิสงส์จากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงการระบาดของโรคสุกรที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น สินค้ากลุ่มอาหารที่ถูกนำเข้าไปเป็นสต๊อกในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงสินค้าทางการแพทย์และเภสัชภัณฑ์เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้เป็นสินค้าที่การเติบโตสูงขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ตอบสนอง new normal จากการต้องถูกกักตัวอยู่กับบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์และสินค้าที่เกี่ยวกับสันทนาการของเด็ก ยังคงรักษาการเติบโตไว้ได้แต่อาจต่ำกว่าปีก่อน และเป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าของไทยบางประเภทที่การเติบโตชะลอตัวในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จากการแข่งขันที่สูง และมาตรการกีดกันทางการค้า กลับมามีการเติบโต เช่น อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง และปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง

สำหรับภาพรวมการส่งออกสินค้าของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 และต่อเนื่องปี 2564 ยังมีความท้าทายสูง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่ผ่านจุดสูงสุด หลายประเทศกลับมาปิดเมือง ส่งผลให้อุปสงค์โลกยังอ่อนแอลง ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจต้องใช้เวลา

ขณะเดียวกัน ปัจจัยจากการแข็งค่าของเงินบาทที่สูงกว่าคู่แข่งกดดันความสามารถด้านการแข่งขันของสินค้าไทย โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยทั้งปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวในระดับ 2 หลัก ซึ่งจะเป็นการหดตัวลึกกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ร้อยละ -6.1 YOY แต่ก็ยังมีสินค้าของไทยที่ยังพอมีโอกาสส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 โดยพิจารณาตามประเภทสินค้าและตลาดส่งออกที่สำคัญ ดังนี้

1.กลุ่มสินค้าที่เติบโตสูงและต่อเนื่อง และไทยมีศักยภาพการแข่งขัน

– สินค้ากลุ่มอาหาร โดยเฉพาะสินค้าอาหารสำเร็จรูปประเภทบรรจุกระป๋อง เช่น ผัก ผลไม้ รวมถึงเนื้อสัตว์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป และพร้อมปรุง ที่มีความสะดวกด้านการขนส่งและสามารถเก็บรักษาได้นาน โดยตลาดที่น่าสนใจ ได้แก่ สหรัฐ และสหภาพยุโรป รวมถึงกลุ่มประเทศ

ตะวันออกกลาง และสินค้าที่น่าจะมีความต้องการสูง เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ตลาดที่น่าสนใจ ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีน

– อาหารสัตว์เลี้ยง ยังคงเป็นสินค้าที่มีความต้องการกักตุนเช่นเดียวกับอาหารคน โดยเฉพาะประเทศที่ผู้คนนิยมเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก ทั้งสหรัฐ ยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งกลุ่มผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนโสดและกลุ่มผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อ

– กลุ่มสินค้าเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์/เวชภัณฑ์ ยังคงเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศที่ยังคงมีการระบาด หรือเป็นประเทศที่ระบบสาธารณสุขยังไม่พร้อม โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV

2.กลุ่มสินค้าที่เติบโตจากปัจจัยเฉพาะ

– กลุ่มสินค้าเกษตรขั้นต้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เช่น มันเส้น มันอัดเม็ด เพื่อผลิตเอทานอลสำหรับเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ รวมถึงอุตสาหกรรมสุราที่เริ่มฟื้นตัวในตลาดจีน รวมถึงความต้องการเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์

– กลุ่มปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV รวมถึงกลุ่มประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก และยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้ เช่น อินเดีย ปากีสถานและฟิลิปปินส์ ส่งผลให้ความต้องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพึ่งตนเองมีสูง โดยสินค้าที่ตลาดนี้มีความต้องการสูง ได้แก่ เมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ขยายการเพาะปลูก

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าการระบาดของโควิด-19 จะสามารถคลี่คลายได้ภายในปีนี้หรือไม่ ธุรกิจ SMEs ของไทยก็ยังเผชิญความท้าทายด้านการส่งออกไปอีกระยะ จากเศรษฐกิจโลกที่ต้องใช้ระยะเวลาค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติอย่างน้อยอีก 2-3 ปี โดยผมคิดว่าแนวทางที่จะช่วยลดผลกระทบให้แก่ SMEs ได้ก็คือ การพัฒนามาตรฐานการผลิตและคุณภาพสินค้า มากกว่าการแข่งขันด้วยราคา

รวมถึงการให้ความสนใจกับตลาดที่เศรษฐกิจยังคงมีการขยายตัว รวมถึงตลาดที่ไทยมีข้อตกลง FTA ซึ่งจะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น

Let's block ads! (Why?)



"ออกไป" - Google News
October 03, 2020 at 08:14AM
https://ift.tt/36FQWKT

ทิศทางการส่งออกของ SMEs ไทย สินค้าไหนยังได้ไปต่อ - ประชาชาติธุรกิจ
"ออกไป" - Google News
https://ift.tt/2MnsD8Q

No comments:

Post a Comment