นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นำรายชื่อกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) 18 คน แถลงต่อสื่อมวลชนว่าได้ยื่นลาออกต่อการเป็น กก.บห.พรรคแล้ว เป็นผลให้ กก.บห.ทั้งชุดสิ้นสภาพ รวมทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค
นายไพบูลย์ กล่าวว่าตามข้อบังคับภายในของพรรคพลังประชารัฐ หาก กก.บห.ลาออกเกินกึ่งหนึ่ง ถือว่า กก.บห.ทั้งชุดสิ้นสภาพ และต้องมีการเลือก กก.บห.ชุดใหม่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ 1 มิ.ย.
ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าการปรับกรรมการบริหารพรรคครั้งนี้เป็นไปเพื่อการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่นายกรัฐมนตรีบอกว่ายังไม่ถึงเวลา
"ทุกอย่างไม่ได้มัดมือชกอะไร... หลังจากการเลือกตั้งก็มี ส.ส.เป็นจำนวนมากมาจากหลาย ๆ แห่ง หลายๆ กลุ่มมารวมกันแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อที่จะให้พรรคได้ตอบสนองต่อ ส.ส.ที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะที่สำคัญตอบสนองต่อการทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน" นายไพบูลย์ กล่าว
ก่อนหน้านี้เมื่อเวลาประมาณ 12 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรค พปชร. กล่าวถึงกระแสข่าวกรณีนี้ว่า ไม่รู้ และ "ไม่มี ไม่รู้เรื่อง" เมื่อถูกถามว่าทราบหรือไม่ว่าจะมีการยื่นลาออกของ กก.บห.
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การดำเนินการเป็นเรื่องของ กก.บห. แต่ยืนยันว่า "กลมเกลียวกันอยู่แล้ว" เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการเสนอให้เป็นหัวหน้าพรรคจะไม่ปฏิเสธใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร ไม่ได้ตอบคำถาม เพียงหันมายิ้ม และขึ้นรถออกไปทันที
รายชื่อ กก.บห.ที่ลาออก 18 คน ประกอบด้วย
1.นายสันติ พร้อมพัฒน์
2.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
3.นายสุพล ฟองงาม
4.นายธรรมนัส พรหมเผ่า
5.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
6.นายไผ่ ลิกค์
7.นายนิโรธ สุนทรเลขา
8.นายสัมพันธ์ มะยูโซ้ะ
9.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
10.นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์
11.นายชาญวิทย์ วิภูศิริ
12.นายสกลธี ภัททิยกุล
13.นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
14.นายสุรชาติ ศรีบุศกร
15.นายนิพันธ์ ศิริธร
16.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
17.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
18.นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
กก.บห. พรรคที่ดำรงหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค ที่ต้องสิ้นสภาพไปพร้อมกัน ได้แก่
- อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค - รมว.กระทรวงการคลัง
- สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรค - รมว. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรค - รมว.กระทรวงศึกษาธิการ
- ไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค
- อนุชา นาคาศัย รองหัวหน้าพรรค
- สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค - รมว.กระทรวงพลังงาน
ปรับ กก.บห. เพื่อปรับ ครม. ?
ดร. บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้ความเห็นกับบีบีซีไทยว่า การลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารครั้งใหญ่คราวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังการบริหารประเทศผ่านไปแล้ว 1 ปี
"วัตถุประสงค์ของการลาออกครั้งนี้ไม่ได้อยู่ที่การปรับโครงสร้างพรรคใหม่ แต่อยู่ที่การปรับตำแหน่งรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรค" ดร. บุญเกียรติกล่าว
เขาเชื่อว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คงต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งกรรมการบริหารชุดใหม่ โดยบรรดา ส.ส. ของพรรค จะชู พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคแทน
"ไม่มีใครมีบารมีในพรรคได้มากเท่า พล.อ.ประวิตร ที่จะประสานงาน ถ่วงดุลอำนาจกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคได้"
ขณะที่ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองไทย "ไร้ความหวัง"
"แทนที่วิกฤตโควิด-19 จะกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการทำงานเพื่อประชาชนอย่างหนัก รวดเร็วและมีวิสัยทัศน์เพื่อส่วนรวม แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลมีเวลามากขึ้นในการทะเลาะแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์กันเอง" ดร.ประจักษ์เขียนไว้ในข้อความทางทวิตเตอร์
นายทะเบียน พปชร. รับคนลาออกมีเป้าอยากให้ปรับ ครม.
"ไม่คิดว่าจะเร็ว" นายวิเชียร ชวลิต นายทะเบียนสมาชิกพรรค พปชร. หนึ่งใน กก.บห.ของพรรคที่ไม่ได้ยื่นใบลาออก บอกกับบีบีซีไทยถึงความเคลื่อนไหวการลาออกของ กก.บห. ถึง 18 คน
เขายอมรับว่าคาดการณ์มาก่อนแล้วและเห็นว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่การปรับเก้าอี้คณะรัฐมนตรี แต่ในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญสถานการณ์โรคระบาด ไม่คิดว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเกิดขึ้นเร็ว เพราะประเทศยังไม่พ้นวิกฤต การปรับเปลี่ยนภายในพรรคอาจกระทบกระเทือนต่อการทำงานของการดูแลพี่น้องประชาชนเพราะ พปชร. เป็นพรรคแกนนำหลักของรัฐบาล
"เจตนาของคนที่ลาออกและความเปลี่ยนแปลงนี้คงมีเจตนาแบบนั้น เพราะว่าเป็นที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วว่าน่าจะเกี่ยวไปถึงการปรับ ครม."
เมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้เรียกนายอุตตม และนายสนธิรัตน์ เข้าพบเพื่อเคลียร์ใจและส่งสัญญาณให้ทำงานต่อในตำแหน่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เป็นเวลาที่ต้องมุ่งทำงานในภาวะที่กำลังเผชิญโรคโควิด-19
เมื่อถามว่าความเคลื่อนไหวนี้มีไฟเขียวจาก พล.อ.ประยุทธ์แล้วหรือไม่ นายวิเชียร กล่าวว่า "ต้องถามท่านดู การเมืองก็อย่างงี้ล่ะครับ"
ส่วนจะมีการประชุมวิสามัญเมื่อใดนั้น รักษาการนายทะเบียนพรรค บอกว่ายังต้องคุยกันเป็นลำดับต่อไป เนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงบังคับใช้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน การประชุมที่สมาชิกเดินทางมาจากทั่วประเทศอาจยุ่งยากพอสมควร รวมไปถึงการจัดสถานที่ประชุมสำหรับคนจำนวนมากด้วย
ประยุทธ์ : ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาปรับ ครม.
ภายหลังข่าวการลาออกของ กก.บห. พปชร พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นเรื่องของพรรค ซึ่งก็ต้องมีการเลือกกันใหม่
เมื่อถูกถามว่าจะส่งผลให้ต้องมีการปรับ ครม. เลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ส่วนการปรับ ครม.เป็นเรื่องที่จะพิจารณาด้วยตนเอง
"แต่ถึงวาระจำเป็นที่ต้องปรับหรือยัง เป็นเรื่องของผม ตอนนี้ยังไม่มี ยังไม่ตอบ ยังไม่ถึงเวลาที่ผมจะคิดเรื่องนี้เข้าใจไหม พูดหลายทีแล้วไม่ใช่หรือ วันนี้ประชาชนเดือดร้อนอยู่มากมายมหาศาล" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาล
เขาบอกว่า การปรับคณะกรรมการบริหารพรรค "เป็นเรื่องธรรมดา" ของพรรคการเมือง
"ผมก็เห็นหลายพรรคเขาก็ปรับกรรมการบริหารพรรคมาตลอด ครั้งนี้ก็อย่าลืมว่าเขาจัดตั้งมาก่อนเลือกตั้ง มันก็นานพอสมควรแล้ว ก็เป็นเรื่องของเขาที่จะพิจารณาต่างๆ อย่าเอาผมไปเกี่ยวเลย ผมไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค เป็นเรื่องของพรรค ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ครม."
จาก "ภัยความมั่นคงของพรรค" ถึงประกาศศิต "บิ๊กป้อม"
ความเคลื่อนไหวในการลาออกของ กก.บห.พรรค เกินกว่าครึ่งหนึ่ง ถูกมองว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่มีเป้าสู่การเปลี่ยนแปลงตัวหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค ดังปรากฏในการรายงานของสื่อหลายครั้ง ชื่อของหัวหน้าพรรคคนใหม่นั้นคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานยุทธศาสตร์พรรค ส่วนชื่อของผู้ที่จะนั่งเก้าอี้เป็นเลขาธิการพรรคนั้น ล้วนมีแต่ชื่อของสมาชิกกลุ่มสามมิตร ได้แก่ นายอนุชา นาคาศัย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายสันติ พร้อมพัฒน์
ความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนตัวนี้ก็เป็นไปเพื่อการปรับเก้าอี้ ครม. สอดคล้องจังหวะเวลาครบ 1 ปี ของการนั่งเก้าอี้รัฐมนตรี
-
53,197,562 บาท เป็นเงินฝาก
-
7, 076,195 บาท เป็นเงินลงทุน
-
17 ล้านบาท เป็นที่ดิน
-
10 ล้านบาท เป็นโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง และยานพาหนะอีก 1 แสนบาท
เป็นที่ทราบกันดีว่าใน พปชร.หลากหลายไปด้วยกลุ่มการเมืองหลัก 4 กลุ่ม ในจำนวน 18 กก.บห. ที่ยื่นใบลาออกวันนี้ล้วนเป็นชื่อจาก "กลุ่มสามมิตร", "กลุ่มสามทหารเสือ กปปส." และ "กลุ่มบิ๊กป้อม" คงเหลือไว้แต่ "กลุ่มสี่กุมาร" ที่ได้โควตารัฐมนตรี 3 คน และอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค
กก.บห. 18 ที่ลาออก ที่สามารถระบุ กลุ่ม-มุ้งในพรรคได้ แบ่งเป็น
- สมาชิกกลุ่มสามมิตร อย่างน้อย 3 คน ได้แก่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รมว.อุตสาหกรรม) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (รมว.ยุติธรรม) นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
- กลุ่มสามทหารเสือ กปปส. 3 คน ได้แก่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (รมว.ศึกษาธิการ) นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) และนายสกลธี ภัททิยะกุล
เมื่อกลางปีที่แล้ว นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค และ รมว.กระทรวงพลังงาน เคยถูกเพื่อนร่วมพรรคกล่าวหาว่าเป็น "ภัยต่อความมั่นคงของพรรคและของรัฐบาลเป็นอย่างสูง" ในช่วงจัดโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) "ประยุทธ์ 2" หลังนายอนุชา ต้องหลุดจากเก้าอี้ รมช.คลัง ในนาทีท้าย ๆ ของการจัดโผช่วงปลายเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว
แม้มีความเคลื่อนไหวไล่สนธิรัตน์ ออกมาเป็นระยะ ทว่าในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พปชร. เมื่อปลายเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว นายสนธิรัตน์ ยังคงนั่งอยู่ในเก้าอี้อย่างเหนียวแน่นด้วย "ประกาศิต" ของ พล.อ.ประวิตร ประธานยุทธศาสตร์พรรค ตามการเปิดเผยของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม และแกนนำกลุ่มสามมิตร พปชร. ก่อนเริ่มการประชุม
ในการประชุมครั้งเดียวกัน ยังมีการเลือก กก.บห. เพิ่มมาอีก 17 คน ซึ่งมีชื่อของกลุ่มสามมิตร และนายไพบูลย์ นิติตะวัน โควตาของ พล.อ.ประวิตร เพิ่มมาด้วย
"ออกไป" - Google News
June 01, 2020 at 07:04PM
https://ift.tt/2XQXArg
พลังประชารัฐ : นายกฯ บอก ยังไม่ถึงเวลาปรับ ครม. หลังกก.บห.พรรค ลาออก 18 คน - บีบีซีไทย
"ออกไป" - Google News
https://ift.tt/2MnsD8Q
No comments:
Post a Comment