ซึ่งล่าสุด องอาจ ประภากมล และพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา สองผู้บริหารของทรูวิชั่นส์ได้เข้าหารือกับ “บิ๊กอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
โดยต่างฝ่ายต่างต้องไปหาแนวทางวางแผนความเป็นไปได้ของตัวเอง ก่อนที่จะกลับมาเจรจาร่วมกันอีกครั้งว่าจะพบกันละครึ่งทางได้ที่ตรงไหน
แน่นอนว่านี่ถือเป็นสัญญาณที่ดีระดับหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะอย่างน้อยคนของทั้งสององค์กรก็ได้เจอหน้าค่าตากันแบบตัวเป็นๆ เสียที หลังจากที่ส่งหนังสือ (ตอบโต้ - ทวงหนี้อีก 400 ล้าน) กันอยู่นาน จนเรื่องลุกลามใหญ่โต
ถ้าจะว่ากันตามจริงคงต้องบอกว่ามันผิดพลาดมาตั้งแต่การประชุมวันที่ 14 เม.ย. ซึ่งมีมติออกมาว่าจะเลื่อนการแข่งขันไปเริ่มกันเดือน ก.ย. นั่นแหละ
พวกคุณลงมติเปลี่ยนแปลงอะไรโดยไม่ปรึกษาเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อย่างไร ???
ผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ของสมาคมฟุตบอลฯ ควรมีหน้าที่ต้องแย้งเรื่องนี้ด้วยซ้ำ เนื่องจากจะเกิดความเสียหายตามมาอย่างแน่นอน
ดันกลายเป็นว่าเห็นดีเห็นงานกับเขาไปด้วย
คงบอกตรงๆ ว่าเรื่องนี้ต้องภาวนาให้จบกันบนโต๊ะ เพราะไม่อยากให้ไปจบกันที่ศาล
อย่างไรก็ตาม จากการหาข้อมูลเชิงลึกแล้วนั้นมีหลายสโมสรไม่เห็นด้วยกับการที่ไทยลีกจะเลื่อนการแข่งขันออกไปยาวถึงเดือน ก.ย.
บรรดาสโมสรทั้งหลายให้เหตุผลว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ของบ้านเราทุเลาลงเยอะแล้ว รวมถึงศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ก็ได้ประกาศคลายล็อกระยะ 4 ให้กีฬากลับมาแข่งขันได้
หากประกาศให้เตะได้เมื่อไหร่ พวกเขาก็พร้อมลงสนามทันที
อีกเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของงบประมาณ
ฟุตบอลหยุดเตะ แต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้หยุดตามไปด้วย หนำซ้ำบรรดาสปอนเซอร์ทั้งหลายก็ยังมาเข้มงวดกับเรื่องการจ่ายเงินสนับสนุนมากขึ้นอีก
บางรายขอยุติการจ่ายเงินไปดื้อๆ เลยก็มี เพราะฟุตบอลไม่ได้แข่ง โฆษณาทั้งหลายจึงไม่มีช่องทางได้ออกจอเพื่อประชาสัมพันธ์
หนักไปกว่านั้นหากไม่ได้เงินสนับสนุนจากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมาจุนเจือด้วยแล้วละก็
บางสโมสรอาจต้องถึงกับต้องยุบทีมทิ้ง !!!!
ความหวังตอนนี้อยู่ที่ฝีมือของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯล้วน ๆ
มาดูจำนวนเงินสนับสนุนจากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่แต่ละทีมได้รับไปแล้วกันหน่อย
คงต้องไล่เรียงจากสัญญาค่าลิขสิทธิ์ไทยลีกฤดูกาลนี้ที่เซ็นกันมาตั้งแต่สมัยที่ “บังยี” วรวีร์ มะกูดี เป็นนายกสมาคมฯ มีมูลค่าสูงถึง 1,200 ล้านบาท โดยทรูวิชั่นส์จ่ายเงิน “งวดแรก” ให้สมาคมกีฬาฟุตบอลฯไปแล้วราว 30 เปอร์เซ็นต์ ตีกลมๆ ก็ตกประมาณ 360 ล้านบาท
ซึ่งสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มอบเงินสนับสนุนให้สโมสรระดับไทยลีก 1-ไทยลีก 4 ครั้งที่ 1/2563 ไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน ตามหลักเกณฑ์
ไทยลีก 1 (โตโยต้าไทยลีก) จำนวน 5 ล้านบาท/ทีม ทั้งหมด 16 ทีม เป็นเงิน 80 ล้านบาท, ไทยลีก 2 (เอ็ม-150 แชมเปียนส์ ชิพ) จำนวน 7.5 แสนบาท/ทีม ทั้งหมด 18 ทีม เป็นเงิน 13.5 ล้านบาท, ไทยลีก 3 (ออมสิน โปร ลีก) จำนวน 2.5 แสนบาท/ทีม ทั้งหมด 24 ทีม เป็นเงิน 6 ล้านบาท และไทยลีก 4 (ออมสิน ลีก) จำนวน 2.5 แสนบาท/ทีม ทั้งหมด 60 ทีม เป็นเงิน 15 ล้านบาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 114,500,000 บาท
มาถึงตรงนี้คงต้องเฉลียวใจสักนิด สมาคมฟุตบอลฯ รับจากทรูวิชั่นส์งวดแรก 360 ล้าน แต่จ่ายให้สโมสรต่าง ๆ ในไทยลีก 1-ไทยลีก 4 แค่ 114.5 ล้านบาท
เงินเหลืออีกตั้ง 245.5 ล้านบาท
นี่ยังไม่รวมรายได้จากสปอนเซอร์อื่นๆ อีกหลายสิบตัว (มูลค่ามหาศาล)
ผมเองแปลกใจจริงๆ ว่าทำไมสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ชอบออกมาโอดครวญว่าอัตคัดขัดสน ถึงขั้นผู้บริหารและพนักงานต้องออกมาลดเงินเดือนของตัวเอง
จึงไม่มีปัญญาไปช่วยเหลือบรรดาสโมสรสมาชิกให้ได้มากกว่านี้
ก็นั่นซิครับ...แล้วเงินมันหายไปไหนละครับ
ช่วยบอกให้พวกเขาเหล่านั้นได้รู้ (ความจริง) ที !!!
พาวเวอร์บอมบ์
"ออกไป" - Google News
July 02, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2Zqksis
เงินหาย (ไปไหน) - ไทยรัฐ
"ออกไป" - Google News
https://ift.tt/2MnsD8Q
No comments:
Post a Comment